1.ควรหาตำแหน่งที่จะวางถังเก็บน้ำเพราะ
-การเข้าไปติดตั้งเดินท่อได้ง่ายโดยเฉพาะ ปั๊มน้ำและต่อท่อน้ำเข้า รวมถึงท่อน้ำออกที่จะต่อออกมาสู่ปั๊มน้ำไปยังท่อจากตัวอาคาร
-การดูแลรักษา สามารถเข้าไปเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัว ที่ชำรุดเสียหายได้ง่าย
-การซ่อมถังน้ำหรือเปลี่ยน ทำได้ง่ายโดยสามารถยกออกมาจากพื้นที่ได้เลยทันที
-เสียค่าใช้จ่ายน้อยในการขนย้ายเนื่องจากการจัดวางถังน้ำในพื้นที่แคบ อาจต้องใช้จำนวนคนที่ช่วยคนย้ายเพิ่มขึ้น รวมถึงเครื่องมือในการขนย้ายด้วย
2.ควรตรวจสอบระดับพื้นให้เรียบ ก่อนวางถังน้ำบนดินเพราะ
-ปรับระดับพื้นก่อนที่จะวางถังเก็บน้ำ เพื่อการรับน้ำหนักของก้นถังให้มีการกระจายน้ำหนักที่เท่ากัน เพื่อรักษารูปทรงของถังน้ำให้คงมาตรฐาน และยังช่วยให้ระดับไม่ลาดเอียงมาก จนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา
-ช่วยป้องกันการเคลื่อนตัวของท่อเข้าและท่อออกมากเกินไป เนื่องจากการทรุดตัวของพื้นดินที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้รอยต่อแต่ละจุดของถังน้ำมีการรั่วซึมได้ภายหลัง ในการต่อท่อน้ำเข้าตรงส่วนลูกลอย รวมถึงท่อออกจากด้านล่างของถังเก็บน้ำควรมีระดับที่เสมอกัน
3.เตรียมท่อประปา ที่จะต่อเข้ามากับตัวถังเก็บน้ำที่เป็นส่วนของท่อเข้า ให้มีขนาดที่พอดีกัน โดยปกติทั่วไปถังเก็บน้ำบนดินที่ใช้กับบ้านพักอาศัย จะมีขนาด 1000 ลิตร ถึงขนาด 2000 ลิตร
ท่อน้ำเข้าส่วนบนจะมีขนาด 1 นิ้ว
4.ท่อน้ำออกควรสังเกตจากระดับของท่อที่เดินออกมาจากตัวอาคารที่มารับกับท่อจากถังเก็บน้ำ เพื่อการต่อท่อน้ำออกที่ได้ระดับที่เหมาะสมกัน ไม่ทำให้ท่อน้ำเอียงจนเกินพอดี
5.เลือกใช้เทปพันเกลียวที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับขนาดที่นำมาใช้พันเกลียวท่อน้ำทั้งสองตำแหน่ง
6.เลือกลูกลอยควบคุมระดับน้ำที่มีคุณภาพสูง ควรใช้ลูกลอยทองเหลืองในถังเก็บน้ำ
เป็นการป้องกันการชำรุดและเสียหายได้ง่ายกว่าลูกลอยธรรมดาทั่วไป เพราะมีความแข็งแรงกว่า เป็นการยืดอายุของตัวลูกลอยเอง และมีส่วนช่วยรักษาระดับน้ำให้มีความแน่นอนได้
7.ควรหาช่างที่มีความรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับการติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน การต่อปั๊มน้ำระหว่างตัวถังและท่อ รวมถึงการใส่ลูกลอยในถังน้ำเพื่อให้ได้การติดตั้งที่ถูกวิธีและใช้งานได้อย่างยาวนาน
ข้อแนะนำการดูแลรักษาหลังการติดตั้งถังเก็บน้ำ
1.ตรวจสอบจุดต่อท่อน้ำตามจุดท่อน้ำเข้า และท่อน้ำออก ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่
2.ดูการทำงานของลูกลอยว่ายังทำงานได้เป็นปกติดีหรือไม่
3.สังเกตการทำงานของเครื่องปั๊มน้ำว่าการทำงานได้เป็นปกติดี
4.ควรทำความสะอาดถังเก็บน้ำด้วยการล้างถังจากภายใน ด้วยการใช้แปรงขัดพร้อมกับฉีดน้ำทำความสะอาดจากภายใน และปล่อยน้ำออกจากช่องล้างถังก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง
5.การนำถังเก็บน้ำไว้ใต้หลังคาหรือที่ร่ม สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีก เนื่องจากสภาวะอากาศร้อน ในปัจจุบันมีอุณหภูมิสูงมากขึ้นเรื่อยๆ